แนวความคิดในการออกแบบบ้านพักอาศัยหลังนี้เริ่มต้นจากความต้องการของเจ้าของที่ต้องการเชื่อมต่อบ้านหลังเก่ากับบ้านหลังใหม่โดยให้พื้นที่ชั้นล่างของบ้านเป็นพื้นที่ที่คนในครอบครัวใช้ทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งเข้าครัว กินข้าว พักผ่อนหรือจัดเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ ส่วนชั้นบนออกแบบพื้นที่เป็น 2 ฝั่งสำหรับ 2 ครอบครัวและเชื่อมถึงกันด้วยสะพาน จึงทำให้รู้สึกว่าเหมือนมีบ้านเล็กๆ 2 หลังอยูในหลังคาเดียวกัน
ชื่อ Hage house ได้มาจาก คำว่า HAGE (ฮา-เก้) ภาษานอเวย์ แปลว่า "สวน" ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของตัวบ้าน แต่ในความเป็นจริงอีกนัยหนึ่ง คำว่า HAGE ยังอ่านเป็นภาษาญี่ปุ่น 禿 (ฮา-เกะ) แปลว่า "หัวล้าน" และนำมาซึ่ง Requirement บางอย่างที่น่าสนใจ
เจ้าของบ้านมีความต้องการพิเศษ คือ ไม่ต้องการมองเห็นสวนยาง ซึ่งน่าแปลกมากเพราะเป็นมุมมองที่สวยงาม เจ้าของบ้านเล่าว่า "เมื่อหลายสิบปีก่อน ได้พบชายคนหนึ่ง มีลักษณะหัวล้าน เสียชีวิตในกระท่อม หลังสวนยาง 💀 เมื่อเวลาผ่านไป เขาก็ยังปรากฏตัวให้ชาวบ้านเห็นอยู่ จึงได้ทำการรื้อกระท่อมทิ้ง จนถึงวันนี้ชายหัวคนนั้นก็ยังคงปรากฏตัวให้เห็นอยู่บ้าง"
Requirement นี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมหลังนี้ และ คำว่า "หัวล้าน หรือ Hage" จึงเป็นที่มาของชื่อบ้าน Hage house หลังนี้