บ้านกลางสวน

บ้านกลางสวน

Project : BaanKlangsuan ( บ้านกลางสวน )
Project Type : Small House ( บ้านพักอาศัยขนาดเล็ก )
Floor Area : 56 m2 ( พื้นที่ใช้สอย 56 ตารางเมตร)
Status : Final Design Preliminary
Architect : สถาปนิก อันนา ANNA Architects
Cost : low budget (งบประมาณการก่อสร้างน้อย)

บ้านกลางสวนหลังนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครนายก " ผมต้องการบ้านพักที่ขนาดและราคาย่อมเยา รูปแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน เป็นพื้นที่สำหรับผ่อนคลายในวันหยุดหรือวันสบายสบาย เป็นทั้งที่พักผ่อนส่วนตัวและพื้นที่สังสรรค์บ้างเป็นครั้งคราว" เจ้าของบ้านได้กล่าวไว้เช่นนั้น

บ้านหลังนี้มีพื้นที่ 4 ส่วนที่เป็นพื้นฐานของการใช้ชีวิต คือ ห้องนั่งเล่น , ห้องครัว , ห้องนอน และห้องน้ำ โดยด้านหน้าบ้านหันสู่ทิศตะวันออกทำให้ห้องนั่งเล่นและห้องนอนได้รับแดดอุ่นๆในยามเช้าและไม่ได้รับแดดร้อนจัดในช่วงบ่าย พื้นที่ห้องนั่งเล่นกับห้องครัวที่เชื่อมต่อกัน ช่วยให้ห้องกว้างและอากาศถ่ายเทได้สะดวก

รูปแบบบ้านเราคิดจากการนำวัสดุที่หาได้ง่ายตามท้องตลาดมาสร้างเส้นสายให้มีเอกลักษณ์ มีความสูงแค่พอดีสำหรับการใช้งาน ไม่ต้องมากหรือยากจนเกินไป เกิดเป็นบ้านหลังเล็กที่เราหวังจะให้เจ้าของบ้านได้อยู่ ได้ผักผ่อน พร้อมหน้ากันทั้งครอบครัวในวันที่แสนจะสบายสบาย

Product Recommend

Design Connext
Design Connext
Design Connext
Design Connext
Design Connext
ผลงานที่น่าสนใจ
Tanawat tarasantisuk

Tanawat tarasantisuk

เข้าชม 0 ครั้ง
SAWIJ ARCHITECTS
2.8K
เข้าชม
12
ถูกใจ
Thailand
ไทย

ข้อมูลทั่วไป
เข้าชม
37 ครั้ง
ปี
2019
ขนาดพื้นที่
70 ตร.ม.
ประเภทโครงการ
บ้านพักอาศัย
สไตล์การออกแบบ
โมเดิร์น
ผลงานที่เกี่ยวข้อง
100 ตร.ม.
2019
Project : Normal House ( บ้าน - ธรรมดา ) Project Type : House ( บ้านพักอาศัย ) Location : Kabin Buri, Prachin Buri ( อ. กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี) Floor Area : 100 m2 ( พื้นที่บ้าน 100 ตารางเมตร) Status : Design Preliminary Architect : สถาปนิก อันนา ANA Architects Cost : low budget (งบประมาณการก่อสร้างน้อย) “ บ้านที่ธรรมดา อยู่และดูแลรักษาง่าย ราคาไม่สูงมาก บ้านที่ผมจะใช้พักอาศัยในวันหยุดหรืออยู่หลังเกษียณ มาปลูกพืชผักเลี้ยงสัตว์ ” คำพูดของเจ้าของบ้านในการคุยแบบครั้งแรก ได้กลายเป็นแนวทางในการออกแบบบ้านหลังนี้ ภายใต้พื้นฐานของคำว่า “ธรรมดาและง่าย” เริ่มที่ รูปทรงของบ้านที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวบ้านตามแนวยาวไปทางทิศตะวันออก-ตะวันตก ให้ด้านยาวของบ้านแผ่ขยายออกเพื่อรับลมให้ได้มากที่สุด อีกทั้งลดพื้นที่ถูกแสงแดดในช่วงบ่ายถึงเย็นให้มีขนาดพื้นที่น้อยที่สุด ทำให้บ้านเย็นและมีสภาวะที่ดีต่อการอยู่อาศัย ต่อมาคือเรื่องของโครงสร้างบ้าน เราออกแบบให้อาคารมีช่วงเสาที่ไม่กว้างมากและมีรูปแบบที่ง่ายต่อการก่อสร้างโดยช่างท้องถิ่นอีกทั้งยังง่ายต่อการซ่อมบำรุง การใช้งานในบ้านมีระดับความต่างของพื้นที่น้อย ง่ายต่อการใช้ชีวิตและลดอุบัติเหตุเมื่อมีอายุที่มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่สิ่งที่คิดขึ้นใหม่ แต่กลับเป็นการนำความธรรมดาที่สามารถพบได้ในบ้านท้องถิ่นทั่วไปที่ถูกคิดและสร้างมาจากภูมิปัญญาของคนในอดีตมาปรับใช้ก่อร่างสร้างเป็นบ้านในแบบภาษาของปัจจุบันและเราขึ้นมา นอกจากการอยู่อาศัยในบ้านแล้ว การอาศัยโลกภายนอกรอบบ้านก็สำคัญ ด้านทิศใต้มีบ่อน้ำที่อยู่ในพื้นที่ต่ำของที่ดิน เพื่อที่จะได้กักเก็บน้ำที่ไหลมาไว้ใช้งานในบ้านและใช้ทำการเกษตรรอบบ้าน อีกทั้งยังทำให้ลมที่พัดผ่านน้ำเย็นสบายเข้ามายังตัวบ้านอีกด้วย ด้านหลังบ้านติดกับห้องครัวเป็นพื้นที่ใช้ปลูกพืชผักสวนครัวสำหรับการล่อเลี้ยงชีวิต ด้านหน้าบ้านถูกใช้เป็นสนามหญ้าและปลูกไม้สวนเพื่อการใช้งานในยามบ่ายถึงยามเย็น เป็นที่ให้ครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกันภายใต้ความร่มเย็นของต้นไม้และแสงจากทางทิศเหนือ เราหวังว่าบ้านธรรมดาหลังนี้จะทำให้ผู้อยู่อาศัย ได้มีชีวิตในแบบที่มนุษย์ควรจะได้รับจากบ้านและธรรมชาติแวดล้อมที่ดี เกิดเป็นความสงบ ความสุข ความร่มเย็น ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์ควรจะได้รับจาก “บ้าน”
270 ตร.ม.
2017
Project : Baan – Nok ( บ้าน-นอก ) Project Type : House ( บ้านพักอาศัย ) Location : Nong Chok , Bangkok ( เขต หนอกจอก , กรุงเทพมหานคร ) Floor Area : 300 m2 ( พื้นที่ใช้สอย 300 ตารางเมตร ) Status : Design Preliminary Architect : สถาปนิก อันนา Anna Architects บ้านนอก ในความหมายหนึ่ง อาจจะแสดงถึงความห่างไกลทางความเจริญ แต่สำหรับบางคนที่ห่างบ้านมาไกลเพื่อทำมาหากินในเมือง คำว่า “ บ้านนอก ” ของเขาคงแสดงถึง พื้นที่ที่แสนจะอบอุ่น มีบ้านที่มีใต้ถุน ไว้วิ่งเล่น นั่งคุย นอนกลางวัน บ้านที่ภายนอกกับภายในเชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกันกับพื้นบ้าน โดยมีเพียงห้องนอนและห้องนั่งเล่นบางส่วนอยู่ชั้นสองของบ้าน ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกถ่ายทอดมาจากเจ้าของบ้านที่เข้ามาทำสวน ค้าขายต้นไม้ อยู่ชานเมือง ซึ่งเวลาผ่านมาครอบครัวเติบโตขึ้น มีลูกและกำลังจะมีหลาน จึงกำลังมองหาบ้านหลังใหม่ที่พร้อมจะรองรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และเป็นบ้านที่เชื่อมต่อกับต้นไม้ ดอกไม้ และสนามหญ้าที่เขาปลูก เป็นบ้านที่คล้ายกับบ้านที่เขาได้เติบโตมา เราจึงได้นำโจทย์ที่ได้รับมาออกแบบบ้าน เริ่มที่พื้นฐานคือการวางบ้านตามแนวตะวันออกและตะวันตก เพื่อที่จะทำให้บ้านได้ใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม แดด ลม ฝน ให้ได้ดีที่สุด โดยทางทิศใต้ได้ยื่นชายคาและระเบียงยาวสองเมตรเพื่อกันแดดและฝนจากทางทิศใต้ สร้างพื้นที่สีเทาให้เกิดขึ้นภายในตัวบ้าน ทำให้รู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้อาศัย ชั้นหนึ่งของบ้านเป็นพื้นที่โล่งคล้ายใต้ถุน มีที่สำหรับวิ่งเล่น นั่งกินข้าว นั่งทำงาน และมีเพียงห้องครัวกับห้องน้ำเท่านั้นที่ปิดทึบ ส่วนชั้นสองนั้นเป็นกระจกที่มองจากภายนอกจะเห็นเพียงท้องฟ้าที่สะท้อนบอกเล่าเวลาที่เปลี่ยนไป แต่มองจากภายในออกมา จะเห็นต้นไม้ใหญ่ เห็นสวน เห็นสนามหญ้า และเห็นท้องฟ้าที่เปลี่ยนสีไปตามกาลเวลานั่นเอง ซึ่งทั้งหมดได้รวมตัวกันเป็นบ้านที่มีภาพลักษณ์ตามภาษาของผู้ออกแบบและความเป็นปัจจุบัน อาจดูแตกต่างจากบ้านที่พบได้ทั่วไป แต่หากมองถึงพื้นฐานการใช้งานของบ้านก็ไม่ได้ผิดแปลกไปแต่อย่างใด จากความรู้สึกเมื่อครั้งได้อาศัยอยู่ “ บ้าน – นอก ”