House for rent @ Sri nakarin

Product Recommend

Design Connext
Design Connext
Design Connext
Design Connext
Design Connext
ผลงานที่น่าสนใจ
ณชนก  เลิศพงศ์เกษม

ณชนก เลิศพงศ์เกษม

เข้าชม 390 ครั้ง
เอมิกา ออพิพัฒน์

เอมิกา ออพิพัฒน์

เข้าชม 166 ครั้ง
พลอยขวัญ พิริยจิตรกรกิจ
553
เข้าชม
0
ถูกใจ

ข้อมูลทั่วไป
เข้าชม
4 ครั้ง
ประเภทโครงการ
บ้านพักอาศัย
สไตล์การออกแบบ
คอนเทมโพรารี่
ผลงานที่เกี่ยวข้อง
Town Home in Buriram
2019
Town Home in Buriram อยู่ใจกลางเมืองบุรีรัมย์ ใกล้ไนท์บาร์ซ่า ทำเลดีมาก อาคาร 4 คูหา 3 ชั้นครึ่ง สูงโปร่ง ออกแบบพื้นที่ใช้สอยให้มี Double Space “ดับเบิ้ล สเปซ” คือการรวมพื้นที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันระหว่างชั้น 1 และ ชั้น 2 ของบ้าน ทำให้พื้นที่ส่วนนี้เปรียบเสมือนห้องโถงใหญ่ ตัวบ้านจะดูกว้างมากขึ้น ดูไม่อึดอัดเหมือนบ้านในแบบอื่นๆ ให้ความรู้สึกโปร่ง สบายตา เนื่องจากบ้านแบบปกตินั้น มักมีความสูงของเพดานระหว่าง 2.50-3.00 เมตร ส่วนเพดานของบ้านแบบ ดับเบิ้ล สเปซ มักมีความสูงอยู่ที่ 5-8 เมตร ทั้งยังให้ความรู้สึกเชื่อมโยงกันระหว่างชั้นบนและชั้นล่าง ส่วนการดีไซน์ที่สามารถช่วยเพิ่มการเป็นดับเบิ้ล สเปซ ได้มากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ การมีกระจกทรงสูงเข้ามาเป็นส่วนเสริมของตัวบ้าน ทำให้บ้านมีความโปร่ง สบาย มีแสงสว่างที่คอยสอดส่องเข้ามาภายในตัวบ้านมากขึ้น สร้างบรรยากาศให้ห้องนั้นๆ ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น บ้านก็จะไม่ดูอึดอัดหรือทึบจนเกินไป และรับรองกับการใช้งานที่สบาย
2021
MahoganyHouse 570 sqm, Bangkok, Thailand Client : Private   Scope : House Design  Progress : During Construction ​ ณ ที่ดินขนาด120ตารางวา ในซอยย่านรามคำแหง กลางที่ดินมีต้นมะฮอกกานีสูงตระหง่านที่คุณพ่อของเจ้าของบ้านปลูกเอาไว้เมื่อ30ปีก่อน " เราจะสร้างบ้านที่มีพื้นที่เป็นสัดเป็นส่วน มีสวนให้เด็กๆได้เล่นกับดินและต้นไม้ มีพื้นที่ส่วนกลางที่ทุกคนอยากอยู่ด้วยกัน แต่ก็ยังมีพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง รองรับการครอบครัวของเด็กๆในอนาคตไปด้วย และคงต้นมะฮอกกานีนี้ไว้ด้วยได้ยังไง " นี่คือโจทย์ตั้งต้นของบ้านหลังนี้ ​​ ด้วยความผูกพันระหว่างเจ้าของกับต้นไม้ใหญ่นี้ เราจึงเลือกให้ต้นมะฮอกกานีนี้เหมือนเป็นหัวใจของบ้าน เราจึงจัดวางตัวอาคารเป็นทรงตัวยูล้อมต้นมะฮอกกานี และปรับความสูงของแต่ละส่วนอาคาร เพื่อเปิดทิศลมให้กับตัวบ้าน ในขณะเดียวกันเลือกจัดวางพื้นที่ใช้สอยและหน้าต่างตามทิศลมและเวลาของแสงแดด ให้แสงส่องเข้าถึงแต่ละพื้นที่ ในเวลาที่เหมาะสม อาทิ 8โมงเช้า แดดส่องที่ห้องนอน ซึ่งเป็นเวลาตื่นนอนของผู้อยู่อาศัยพอดี ​ การเลือกใช้วัสดุ ภายนอกเน้นเรื่องของผิวสัมผัสที่เป็นธรรมชาติและโทนสีเข้ม เพื่อให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับคอร์ทต้นมะฮอกกานีในตัวบ้านและแตกต่างจากบริบทโดยรอบ ในขณะที่พื้นที่ภายในยังเน้นให้รู้สึกเบา และเรียบง่าย ใช้ไม้สีมะฮอกกานีตัดกับสีขาว เทา และแสงเงาที่ส่องผ่านระแนงภายนอกโดยรอบ  สุดท้ายนี้ พื้นที่ทุกส่วนถูกเชื่อมเข้าหากันผ่านต้นมะฮอกกานีต้นเดียวกันนี้ เราจึงเรียกบ้านหลังนี้ว่า บ้านมะฮอกกานี