H149 Final

โครงการปรับปรุงบ้านพักอาศัย 2 ชั้น
ที่ตั้ง: ถ.สุขุมวิท พระโขนง กรุงเทพฯ
เจ้าของ: คุณแชมป์
พื้นที่ใช้สอย: 300 ตารางเมตร
งบประมาณ: 4.5 ล้านบาท
โปรแกรมในการออกแบบ คือ การปรับปรุงบ้านเก่าอายุกว่า 30 ปี เพื่อเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้สอยให่ตอบสนองความต้องการใช้ชีวิตแบบปัจจุบัน และเพื่อสร้างสรรค์พื้นที่เชิงธุรกิจไปพร้อมกัน
การออกแบบแบ่งรูปแบบการใช้สอยเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วน A และส่วน B โดยส่วน A เป็นพื้นที่กึ่งสำนักงานและพักอาศัย โดยชั้นล่างสามารถใช้เป็นพื้นที่ทำงานในรูปแบบ Office Studio ขนาดเล็ก โดยมีพื้นที่จอดรถยนต์รองรับ
ส่วน B เป็นพื้นที่เน้นธุรกิจในรูปแบบการเช่าแบบ Hostel หรือ Gusethouse มีพื้นที่แบบ Common space รองรับ เช่น ห้องพักผ่อนส่วนกลาง และรูปแบบการออกแบบระเบียงที่มีความหลากหลาย แตกต่างตามบุคลิกของผู้พักอาศัย
.
Studiomai co.,ltd.
Architecture and Interior Design.
Tel. 0944549497
Email: studiomai.th@hotmail.com
Line: @studiomai

Product Recommend

Design Connext
Design Connext
Design Connext
Design Connext
Design Connext
ผลงานที่น่าสนใจ
กำแพง  รามสูต

กำแพง รามสูต

เข้าชม 150 ครั้ง
อภิวรรณ ธิดิน
380
เข้าชม
0
ถูกใจ

ข้อมูลทั่วไป
เข้าชม
56 ครั้ง
ปี
2021
ประเภทโครงการ
บ้านพักอาศัย
สไตล์การออกแบบ
โมเดิร์น
มินิมอล
ผลงานที่เกี่ยวข้อง
407 ตร.ม.
2023
“ บ้านเล็กในเมืองใหญ่ ” สไตล์โมเดิร์นลอฟท์ บนขนาดที่ดิน 50 ตร.ว. สำหรับครอบครัวเดี่ยว 1 ครอบครัวและผู้สูงวัย 2 คน โดยมีพื้นที่ใช้สอย 407 ตร.ม. ประกอบด้วย 3 ห้องนอนที่มี walk in closetและห้องน้ำในตัว 4 ห้องน้ำ 1 ห้องนั่งเล่น 1 ห้องครัว 1 ห้องทำงาน และมีสวนเล็กๆมีบ่อปลา ติดกับห้องนั่งเล่นซึ่งมีเฉลียงสาารถออกไปนั่งเล่นชมสวนได้
2021
MahoganyHouse 570 sqm, Bangkok, Thailand Client : Private   Scope : House Design  Progress : During Construction ​ ณ ที่ดินขนาด120ตารางวา ในซอยย่านรามคำแหง กลางที่ดินมีต้นมะฮอกกานีสูงตระหง่านที่คุณพ่อของเจ้าของบ้านปลูกเอาไว้เมื่อ30ปีก่อน " เราจะสร้างบ้านที่มีพื้นที่เป็นสัดเป็นส่วน มีสวนให้เด็กๆได้เล่นกับดินและต้นไม้ มีพื้นที่ส่วนกลางที่ทุกคนอยากอยู่ด้วยกัน แต่ก็ยังมีพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง รองรับการครอบครัวของเด็กๆในอนาคตไปด้วย และคงต้นมะฮอกกานีนี้ไว้ด้วยได้ยังไง " นี่คือโจทย์ตั้งต้นของบ้านหลังนี้ ​​ ด้วยความผูกพันระหว่างเจ้าของกับต้นไม้ใหญ่นี้ เราจึงเลือกให้ต้นมะฮอกกานีนี้เหมือนเป็นหัวใจของบ้าน เราจึงจัดวางตัวอาคารเป็นทรงตัวยูล้อมต้นมะฮอกกานี และปรับความสูงของแต่ละส่วนอาคาร เพื่อเปิดทิศลมให้กับตัวบ้าน ในขณะเดียวกันเลือกจัดวางพื้นที่ใช้สอยและหน้าต่างตามทิศลมและเวลาของแสงแดด ให้แสงส่องเข้าถึงแต่ละพื้นที่ ในเวลาที่เหมาะสม อาทิ 8โมงเช้า แดดส่องที่ห้องนอน ซึ่งเป็นเวลาตื่นนอนของผู้อยู่อาศัยพอดี ​ การเลือกใช้วัสดุ ภายนอกเน้นเรื่องของผิวสัมผัสที่เป็นธรรมชาติและโทนสีเข้ม เพื่อให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับคอร์ทต้นมะฮอกกานีในตัวบ้านและแตกต่างจากบริบทโดยรอบ ในขณะที่พื้นที่ภายในยังเน้นให้รู้สึกเบา และเรียบง่าย ใช้ไม้สีมะฮอกกานีตัดกับสีขาว เทา และแสงเงาที่ส่องผ่านระแนงภายนอกโดยรอบ  สุดท้ายนี้ พื้นที่ทุกส่วนถูกเชื่อมเข้าหากันผ่านต้นมะฮอกกานีต้นเดียวกันนี้ เราจึงเรียกบ้านหลังนี้ว่า บ้านมะฮอกกานี