มุมมองหรือวิธีการที่แตกต่างออกไปของสถาปนิกไทยท่านนึง ที่ชอบการถ่ายภาพเป็นชีวิตจิตใจ จนได้การเชิญให้ไปเป็นคณะกรรมการตัดสินภาพถ่ายนานาชาติ ‘Ten and ONE’ ของทาง Lomography ในปี 2022 และเป็นอาจารย์พิเศษของหลายสถาบันในไทย
นอกจากกระบวนการหาสารตั้งต้นในการออกแบบงานสถาปัตย์ทั้งแบบ
Analogy
และ Metaphor
ที่สถาปนิกสามารถนำมาใช้แล้ว ในมุมมองของผม
คิดเห็นความหมายของสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน
อาจมีนัยยะที่ก่อต่อให้เกิดกิจกรรมใหม่ๆระหว่าง user และตัวสถาปัตยกรรม ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ background ของตัวผม
ผมเห็นว่างานสถาปัตยกรรมในปัจจุบันนอกเหนือจากการงานเพื่อการทำกิจกรรมตามปกติแล้ว
ยังถูกให้นัยยะเพิ่มเติมในการเป็นเสมือน Scene ของภาพยนต์ หรือสตูดิโอถ่ายภาพสาธารณะ ไปโดยปริยาย 'เหตุ' อาจจะเกิดจากรูปแบบการบริโภคสื่อ
หรือการ De-Centerise
ของระบบอุตสาหกรรมต่างๆ
ทำให้ผู้คนสามารถผลันตัวจากปลายสุดของห่วงโซ่อาหารในธุรกิจสื่อ
ซึ่งเป็นได้แค่เพียงผู้เสพที่รับการยื่นอาหารจากผู้ผลิตสื่อเพียงอย่างเดียวในยุคที่ผ่านมา
มาเป็นผู้ที่ทั้งเสพและทั้งผลิตสื่อออกมาเองได้
และดูเหมือนว่าเรื่องราวนี้น่าจะความต้องการลึกๆของผู้บริโภคอยู่แล้ว
หากมองในมุมมองของผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรม ผมคิดว่างานสถาปัตยกรรมมันเป็น Visual Art ในตัวของมันอยู่แล้วโดยที่ไม่ต้องไปอธิบายอะไรมาก
แต่ในปัจจุบัน องค์อาคารในส่วนที่เป็นรายละเอียดที่อยู่ในระยะการใช้งานของ user นั้นสามารถนำมาใช้ในการบอกเล่าความเป็นตัวตนของ
User หรือเจ้าของโครงการได้
อีกทั้งการที่ User สามารถใช้รูปถ่ายในการสื่อสารผ่านช่องทาง
Social
Media ทำให้นัยยะในการรับรู้ลักษณะนี้กระจายไปอย่างรวดเร็ว
ไม่ว่าเราจะทานข้าวที่ร้านอาหาร ดื่มกาแฟในร้านกาแฟ ไปพักผ่อนในวันสุดสัปดาห์
เราต่างถ่ายทอดเนื้อหาที่ถูกหลอมไว้ในเนื้องานการออกแบบสถาปัตยกรรมโดยไม่รู้ตัว
(ผมพูดคือในกรณีที่เป็นงานที่สถาปนิกได้ใส่เนื้อหาเหล่านี้ไว้นะครับ)
การใช้วิธีการสร้างงานออกแบบของการกำหนดมุมมองในเชิงของฉากภาพยนต์กับงานสถาปัตยกรรม
พวกเราอาจจะคุ้นเคยกับร้านกาแฟที่ถูกตกแต่งเป็นร้านที่เหมือนอยู่ในญี่ปุ่น
หรือสถานที่พักผ่อนที่เหมือนเราได้ไปพักที่อิตาลี
ในส่วนที่ผมจะหมายความถึงในบทความนี้ไม่ได้พูดถึงงานในมิติเหล่านี้
ผมอยากจะนำทุกคนเข้าไปถึงการวางส่วนของอาคารๆ
เพื่อให้แสงธรรมชาติทำมุมที่น่าสนใจกับวัสดุ หรือพื้นที่ทำกิจกรรมในส่วนของอาคาร
เพื่อทำให้ user เกิดความรู้สึกกับพื้นที่
ในช่วงเวลาหรืออารมณ์ที่พวกเขาต้องการจะใช้พื้นที่นั้นๆ
การเลือกให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาในอาคาร
เราทำได้หลากหลายวิธี แต่ถ้าโจทย์ของพื้นที่ต้องการให้เกิดภาพที่ละมุมอ่อนโยน
พื้นที่ที่เราจะใช้ทำกิจกรรมนั้นไม่ควรจะอยู่ใกล้ช่องเปิดมากเกินไป
ถ้าจำเป็นต้องใกล้ เราควรเลือกกรอกแสงเหล่านั้นลง หรือจัดการให้สะท้อนหา user
แบบ Indirect เพื่อให้เกิดลักษณะแสงแบบ Diffuse
และอีกอย่างที่มีความสำคัญไม่แพ้การกำหนดช่องเปิด
คือผิววัสดุที่เลือกใช้ไม่ว่าจะเป็นผิวผนัง หรือ Top ของเฟอร์นิเจอร์
ไม่ควรเลือกแบบ Hi-Gloss ซึ่งทั้งหมดนั้นจะทำให้ user มีโอกาสที่จะได้รูปที่ละมุนไปด้วยครับ
เรื่องราวเหล่านั้นยังรวมไปถึง Proportion ต่างๆขององค์อาคาร ไม่ว่าจะเป็น ประตู
ความสูงของห้องอีกด้วย
และถ้าให้พูดตามสมัยนิยม
ผมอาจจะขอพูดเกี่ยวกับเรื่องการนำอาคารเก่ามาปรับปรุงใช้ในทิศทางของหัวเรื่องนี้
มันอาจจะแลดูง่ายที่จะออกแบบอาคารใหม่หมดจรดให้มีเนื้อหาของ Scene ตามที่เราต้องการให้เกิดขึ้นได้
แต่อาจจะเป็นการทำได้ยาก
หรือไม่ได้เลยในบางกรณีของการนำเอาอาคารเก่ามาปรับปรุงใช้งาน
สำหรับอาคารเก่าที่อยากจะได้ scene ที่ต้องการให้คงบรรยายกาศหรือร่องรอยของตัวอาคารซึ่งอาจจะให้เกิดความรู้สึกแนว
Nostalgia
นั้น
เรื่องแรกที่ต้องคำนึงคือเรื่องของความชื้นที่เข้ามามีความสำคัญของการเสื่อมสภาพของโครงสร้างอาคาร
เราอาจจะชอบอาคารในเกาะรัตนโกสินทร์ หรือหัวเมืองชั้นใน ซึ่งสภาพของอาคารอาจจะอยู่ริมน้ำ
มีวิวที่สวยงามน่าสนใจ
แต่ด้วยความเสื่อสภาพของโครงสร้างอาคารจากความชื้นทำจะทำให้การบูรณะอาคารทำได้ยาก
หรือทำไม่ได้ ซึ่งในส่วนแรกนี้ ผมให้ความสำคัญมากที่สุด อีกเรื่องที่รองลงมา
คือเรื่องการคงอยู่ของสภาพพื้นผิวขององค์อาคารเดิม เพื่อให้มีความ Nostalgia
การเลือกที่จะคงไว้ซึ่งพื้นผิวของอาคารเดิมนั้นจะสามารถสร้างคุณค่าของอาคารที่ผ่านกาลเวลามา
ซึ่งเราสามารถเห็นตัวอย่างแบบนี้ได้มากมาย
และส่วนใหญ่เป็นอาคารที่ไม่ค่อยมีความชื้นเข้ามาทำให้อาคารเสื่อมสภาพมากนัก
สุดท้ายหากต้องการนำอาคารเก่ามาบูรณะ หรือใช้ประโยชน์ใหม่ควรปรึกษาสถาปนิกหรือผู้ที่มีประสบการณ์
เพื่อที่จะให้ได้อาคารที่สามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดเท่าที่เราจะบูรณะอาคารนั้นๆ
ให้กลับมาสวย
และมีคุณค่าให้คุ้มกับช่วงเวลาที่เขาอดทนยืนมารอจนถึงวันที่เราได้เจอเขากันนะครับ
บทความโดย : คุณสมบัติ สุนทรจารุ
ดูผลงานเพิ่มเติมได้ที่ : https://designconnext.com/architect/DSN0000803