ธรรมชาติ | มนุษย์ | ความยั่งยืน
เท่ากับ แลนด์สเคป
คุณค่าของงานจัดสวน คือ “การทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนที่สุด”
งานที่คุณดอส - ปณัฐ สุมาลย์โรจน์ และเพอโกล่าร์ เคยทำ ทำอยู่ในปัจจุบัน และจะยังคงทำต่อไปนั้น... ไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องของงานแลนด์สเคปที่ให้คุณค่ากับความสวยงามเท่านั้น แต่ยังมีใจความสำคัญอื่นๆ ที่หลายๆ ท่าน อาจจะเผลอลืมไป นั่นคือการให้คุณค่ากับ “ธรรมชาติ”
ธรรมชาติที่เป็นระบบนิเวศ ธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นได้
ธรรมชาติที่อยู่เหนือกฎและกติกาทุกอย่าง
มนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “ธรรมชาติ” ในหลายๆ ครั้ง เมื่อเราต้องการจะปลูกบ้านสักหนึ่งหลัง... เราอาจให้ความสำคัญกับอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง การออกแบบภายใน แต่ลืมให้ความสำคัญกับ “งานแลนด์สเคป” ไปบ้าง
คุณปณัฐ
มองว่า
งานแลนด์สเคปสำคัญตั้งแต่ก่อนที่จะต้องก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างขึ้นมาเสียอีก
เมื่อมีอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นั้น
ธรรมชาติจะเป็นตัวกำหนดและคุมกรอบของเราเอาไว้
เราไม่สามารถทำสิ่งที่ขัดแย้งกับธรรมชาติได้
เรียนรู้ที่จะ(ต้อง)อยู่ร่วมกับ “ธรรมชาติ”
“งานแลนด์สเคป คือ หลักธรรมชาติ มนุษย์ต้องอาศัยอยู่กับธรรมชาติ”
สังเกตว่าเทรนด์ของสมัยนี้ อย่างการสถาปัตย์ก็กลับเข้ามาสู่ธรรมชาติเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นแกนหรือเนื้อในของแลนด์สเคป คือ การที่เราดึงธรรมชาติมาใช้ แต่เราจะหยิบจับธรรมชาติเหล่านี้อย่างไรให้เกิดความเหมาะสม และให้เรา “อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน (Sustainable)”
สิ่ง(มีชีวิต)เล็กๆ ที่เรียกว่า “คน พืช สัตว์”
เราต้องเข้าใจธรรมชาติก่อนว่าต้นไม้คือสิ่งมีชีวิตเหมือนเราจะเลี้ยงสัตว์ ให้มองว่าคน พืช สัตว์ คือสิ่งมีชีวิต เพราะฉะนั้นการที่เลี้ยงสิ่งมีชีวิตนั้นต้องมาพร้อมกับ “การดูแล”
เรามีลูก เราต้องดูแล เราเลี้ยงหมา เราต้องดูแล
เพราะฉะนั้นในการปลูกต้นไม้ มันก็ต้อง “ดูแล” เช่นเดียวกัน
ขึ้นอยู่กับว่าเรา “เข้าใจ” และ “รัก” กับมันจริงๆ หรือเปล่า.. ?
ให้ลองจินตนาการถึงคนที่รักในการเพาะปลูกต้นไม้ เขาสามารถอยู่กับต้นไม้ได้ตลอดทั้งวัน และดูแลมันได้อย่างดี เสมือนคนที่รักสัตว์ก็จะพาไปอาบน้ำ เดินเล่น เลี้ยงเหมือนเป็นคนเลยก็มี ซึ่งก็เหมือนกันกับ “ต้นไม้”
เพียงการจัดสวนนั้นเหมือนการนำต้นไม้หลายๆ
ต้นมาอยู่รวมกัน เปรียบเหมือนผู้คนมาหน้าหลายตา ต่างคนต่างนิสัย
มาอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน จึงทำให้เราต้องเข้าใจและศึกษาในอุปนิสัยของเขา
รวมถึงเข้าใจในบริบทของเขามากพอที่จะเอาเขาเข้ามาอยู่กับเรา
และสามารถดูแลเขาไปได้ตลอด...
“เพราะต้นไม้ก็เปรียบเสมือนคนที่มีความหลากหลาย”
เข้าใจ | เรียนรู้ | อยู่กับมัน
มากกว่าการออกแบบ มากกว่าการจัดสวน
มากกว่าการดูแล “คือการเข้าใจ เรียนรู้ และอยู่ร่วมกัน”
“ไม่ใช่ว่าเราจะเข้าไปอยู่ในป่าได้
เพราะมนุษย์ทุกคนมีการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา
แต่เราจะทำอย่างไรให้ความยั่งยืน (Sustainable) เข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เราอยู่ได้อย่างเหมาะสม
อยู่ได้อย่างสบายใจ อยู่ได้อย่างเข้าใจ” นี่คือคุณค่าของงานแลนด์สเคปที่คุณดอสพยายามบอกเล่ามาตลอดการสัมภาษณ์ในครั้งนี้
สิ่งแวดล้อมต้องเหมาะสมและเข้ากับเจ้าของบ้านได้ดีที่สุด
โดยเอาเจ้าของบ้านเป็นแกนกลาง
ซึ่งเจ้าของบ้านเองก็ต้องเข้าใจกับธรรมชาติด้วยเฉกเช่นเดียวกัน หากเจ้าของบ้านต้องการต้นไม้ที่มีนิสัยไม่ต้องรดน้ำมาก
ไม่ต้องดูแลเยอะ ใบไม้ไม่ร่วงมากจนเกินไป
เราก็มีหน้าที่เลือกอุปนิสัยของต้นไม้ให้เหมาะกับเจ้าของบ้าน ซึ่งนี่คือหน้าที่ที่
“แลนด์สเคป”
อย่างคุณดอสต้องคอยวิเคราะห์และประเมินให้เข้ากับเจ้าของบ้านได้มากที่สุด
“การจัดสวนไม่ได้มองแค่ทำให้เสร็จแล้วก็จบ เราต้องมองเผื่อไป
อีก 5-10 ปี สวนมีชีวิต ต้นไม้มีการเจริญเติบโต และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ดังนั้นเราจึงต้องคิดว่า จะใช้ต้นไม้อะไร ปลูกอย่างไร เพื่อให้อยู่กับเจ้าของได้นานที่สุด”
Pergolar Showroom | DOD Cafe & Bistro
และอีกหนึ่งผลงานของชาว Pergolar ที่ก่อร่างสร้างขึ้นมาให้เป็นเสมือน Showroom สำหรับดูผลงานของพวกเรา ผ่านการออกแบบให้เป็นสวนป่าโมเดิร์น (Modern Tropical Garden) โดยพื้นที่ของ DOD Café & Bistro จะเลือกใช้กำแพง ผนัง พื้นทางเดิน ด้วย "สัจจะวัสดุ"
เป็นการผสมผสานระหว่างงานภูมิสถาปัตยกรรม
(Landscape) ให้เข้ากับงานสถาปัตยกรรม (Architecture)
มีการออกแบบตัวอาคารให้ใช้วัสดุจาก "อิฐแดง" ที่มีเฉดสีส้ม
และดัดแปลงการจัดวางอิฐในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อสร้างผลงานให้มีความแตกต่าง ดูแปลกตา
และเพิ่มมูลค่าของวัสดุอย่าง "อิฐแดง" ไปในตัว
เพิ่มเติมด้วยสีเขียวจากพรรณไม้นานาชนิดในงานภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape) ให้ DOD Café & Bistro มีสีสันที่ตัดกับสีของตัวอาคาร
การเคลื่อนไหวของพรรณไม้ก็สามารถช่วยลดทอนความแข็งกระด้างของวัสดุที่ใช้กับตัวอาคาร
ทำให้ DOD Café & Bistro แห่งนี้ดูมีสีสัน
และมีชีวิตชีวามากขึ้นได้
บทความโดย :
Interviewer : คุณดอส - ปณัฐ สุมาลย์โรจน์ ผู้ก่อตั้งบริษัท เพอโกล่าร์ จำกัด
Content Writer : จงรัก ศรีสนิท
ดูผลงานเพิ่มเติมได้ที่ : https://designconnext.com/architect/DSN0002675