Sumphat Space ก่อตั้งโดยนายรัฐ เปลี่ยนสุข สถาปนิกผู้จบการศึกษาปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมจากประเทศฝรั่งเศส ด้วยความสนใจทั้งด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ทำให้ผลงานของบริษัทมีความผสมผสานระหว่างรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยดั้งเดิมเข้ากับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ความหลงใหลในวัฒนธรรมไทยสะท้อนให้เห็นผ่านผลงานสถาปัตยกรรมของเขา ผลงานทางสถาปัตยกรรมทั้งภายในและภายนอกมักมีการใช้วัสดุและรูปทรงที่สื่อถึงวิถีชีวิตของไทย เช่น การเข้าไม้ แพทเทิร์นการเรียงกระเบื้องดินเผา หลังคาในเขตร้อน เป็นต้น นอกจากนี้ทีมงานยังให้ความสำคัญกับรายละเอียดของงานออกแบบ โดยมักใส่เรื่องราวและสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมลงไปในผลงาน อาทิ การใช้โคมไฟกระดาษสาที่ออกแบบโดยใช้รูปทรงของวัฒนธรรมโคมมะเต้าของชาวล้านนา ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยที่สืบทอดกันมายาวนานให้มีความร่วมสมัย
ผลงานของบริษัท sumphat space ยังได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติและที่ว่าง โดยให้ความสำคัญกับรายละเอียดของการจัดวางลำดับขั้นการที่ว่างให้สอดคล้องกับธรรมชาติเสมือนการเล่าเรื่องผ่านแผ่นฟิล์ม เน้นการผสานพื้นที่ภายนอกสู่ภายในและการใช้วัสดุอย่างพิถีพิถัน
ตัวอย่างผลงาน :
• บ้านพักอาศัย ผลงานบ้านพักอาศัยของบริษัท sumphat space มักมีการออกแบบที่เน้นการผสมผสานระหว่างรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยดั้งเดิมเข้ากับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว เช่น บ้านพักอาศัยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอหัวหิน ออกแบบโดยใช้โครงสร้างไม้แบบไทยดั้งเดิมผสมผสานกับผังที่ร่วมสมัย เช่น ทางเดินผ่านสวน ห้องสมาธิ ทางเข้าที่มีกระทัดรัดก่อนเปิดออกสู่panoramic view เพื่อสร้าง Scene การเล่าเรื่องประหนึ่งผลงานภาพยนตร์
• อาคารสาธารณะ ผลงานอาคารสาธารณะของบริษัท sumphat space มักมีการออกแบบที่คำนึงถึงบริบทและวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น ห้องประชุม Innovation Center กลุ่ม ปตท. อยุธยา วังน้อย โดยออกแบบโดยใช้รูปทรงที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของไทย เช่น หลังคาทรงจั่วและการเข้าไม้ ผนังไม้ ผสมผสานรูปแบบเข้ากับการใช้วัสดุทันสมัย เช่น วัสดุรีไซเคิลจากเมล็ดกาแฟ และเศษไยพลาสติกเหลือใช้ เพื่อสร้างบรรยากาศที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทยไปพร้อมกับการดูแลธรรมชาติ
นอกจากผลงานการออกแบบที่มีความใส่ใจในคุณภาพ ทีมงาน sumphat space ยังให้ความสำคัญกับคุณค่าทางสังคม โดยผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในได้ทำงานร่วมกับช่างหัตถกรรมชุมชนเพื่อสร้างผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อสร้างผลงานที่สะท้อนถึงตัวผู้ใช้งานอย่างแท้จริงและยังเป็นการกระจายรายได้ให้แก่ช่างหัตถกรรมในพื้นที่ห่างไกล เพื่อรักษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมร่วมกับการพัฒนาสู่อนาคต
บทความโดย : รัฐ เปลี่ยนสุข
ดูผลงานได้ที่ : www.sumphat.space หรือ
https://designconnext.com/architect/615c3c89446657acab6fba32